top of page

ความแตกต่างระหว่าง "เครื่องสำอางจากธรรมชาติ"และ"เครื่องสำอางออร์แกนิค" ต่างกันอย่างไร

อัปเดตเมื่อ 6 ก.ย. 2562

ปัจจุบัน เราเริ่มหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น จึงมีผลิตภัณฑ์มากมายที่ตอบสนองสำหรับคนที่รักสุขภาพ แต่ใครเคยสงสัยกันไหมว่า ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดที่เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติกับผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลที่จะมาให้คำตอบ เพื่อเราจะได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมและมั่นใจในผลิตภัณฑ์ และไม่ถูกหลอก

ใครจะรู้ว่า "เครื่องสำอางจากธรรมชาติ" และ "เครื่องสำอางออร์แกนิค" จากแบรนด์เครื่องสำอางต่าง ๆ มากมาย มีความความแตกต่างอย่างไร ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติหรือออร์แกนิคจริงหรือไม่ ก็มีลูกค้าส่วนน้อยที่ยังไม่เข้าใจในความแตกต่าง และยังไม่ทันการตลาดที่อาจถูกหลอกให้ซื้อได้ง่าย

Natural Cosmetics

คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นธรรมชาติ ไม่ได้รับการควบคุมโดยองค์กรกำกับดูแลใด ๆ หลายแบรนด์จึงสามารถใช้คำที่เป็นธรรมชาติใส่ลงบนบรรจุภัณฑ์ของเขาได้ เพื่อเป็นหนทางทางการตลาด ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติจำนวนหนึ่งสามารถอ้างได้ว่าเป็นธรรมชาติ แม้ว่าสัดส่วนของส่วนประกอบที่มาจากธรรมชาติจะมีส่วนประกอบชนิดอื่นรวมอยู่ด้วย แต่สารประกอบนั้นมีสัดส่วนเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ก็สามารถใช้คำว่า "Natural"





Organic Cosmetics

คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมในกระบวนการทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ไปจนถึงกระบวนการการผลิตที่ปราศจากสารเคมีโดยสิ้นเชิงโดยมีสถาบันที่รับรองระบบออร์แกนิคหลายสถาบันทั่วโลก ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงตามไปด้วย ซึ่งสถาบันที่ออกใบรับรองในแต่ละประเทศมีระบบในการควบคุมที่แตกต่างกันไป


อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่ใช้คำว่า "ออร์แกนิค" บนบรรจุภัณฑ์ไม่ได้แปลว่าเป็นออร์แกนิค 100% เสมอไป ซึ่งอาจจะมีแค่ส่วนประกอบ(Ingredients)ที่เป็นออร์แกนิคบางรายการก็เป็นได้ และส่วนประกอบทุกรายการต้องได้รับการรับรองจากสถาบันนั้นๆด้วย



สำหรับสถาบันที่สามารถออกใบรับรองส่วนประกอบที่เป็นธรรมชาติและออร์แกนิท มี ECOCERT (องค์กรจากยุโรป) และ USDA (องค์กรจากอเมริกา) โดยแบ่งระดับของการรับรองออร์แกนิท 4 ระดับ ที่สามารถแสดงสัญลักษณ์ออร์แกนิทได้ ดังนี้


1. 100% Organic Certified ในผลิตภัณฑ์ต้องเป็นออร์แกนิคทั้งหมด อาจใช้ตราประทับออร์แกนิคของ USDA หรือ ECOCERT ในการเคลมออร์แกนิค 100%และส่งให้สถาบันรับรองสินค้า จึงจะสามารถใช้ตราประทับออร์แกนิคพร้อมเลขที่ใบรับรองบนฉลากได้


2. Organic Certified ผลิตภัณฑ์ต้องมี Ingredients ที่เป็นออร์แกนิคเป็นส่วนประกอบ 95 - 99.99% แต่อาจมีส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วยประมาณ 1 - 5% เท่านั้น และส่งให้สถาบันรับรองสินค้า จึงจะสามารถใช้ตราประทับออร์แกนิคพร้อมเลขที่ใบรับรองบนฉลากได้


3. Made with Organic Ingredients ผลิตภัณฑ์ต้องมี Ingredients ที่เป็นออร์แกนิคเป็นส่วนประกอบ 70 - 94.99% และส่วนประกอบอื่น ๆ อีก 5 - 30% ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคเหล่านี้สามารถใช้คำว่า “มีส่วนประกอบจากออร์แกนิค” แต่ใช้ตราประทับไม่ได้ (เฉพาะสถาบัน USDA)


4.Specific Organic Ingredients มี Ingredients ที่เป็นออร์แกนิคเป็นส่วนประกอบน้อยกว่า 70% ลงไป ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเหล่านี้สามารถใช้คำว่า “มีส่วนประกอบออร์แกนิคเฉพาะ” แต่ใช้ตราประทับไม่ได้ (เฉพาะสถาบัน USDA)


โดยปัจจุบันในท้องตลาดมักไม่พบผลิตภัณฑ์ที่เป็น Organic ระดับที่ 1 และ2 เนื่องจากต้นทุนและจำนวนการผลิตสูงมาก ส่วนใหญ่แบรนด์ทั้งไทยแลเะต่างประเทศจึงเลือกออร์แกนิคแค่ในระดับ3และ4 ตามความเหมาะสมและงบประมาณ


หากคุณเป็นคนสนใจหรือชื่นชอบผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือออแกนิค ต้องการทำสูตรที่เหมาะสม ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และสอดคล้องกับงบประมาณที่จะทำแบรนด์ รีบติดต่อเรา เพื่อสั่งผลิต พัฒนาสูตร เรายินดีให้คำปรึกษา


สามารถทดลองขึ้นสูตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตามต้องการในหมวดสกินแคร์ ค่าขึ้นสูตรใหม่ 6000 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 062-162-6365, LINE ID : @spainherb(ใส่@ด้วย)

#โรงงานผลิตครีม #ออแกนิค #organic #สารสกัดธรรมชาติ #natural 📌 #รับผลิตสกินแคร์ #skincare

📌 #รับผลิตเครื่องสำอาง #cosmaticnatural

📌 #รับผลิตครีม

📌 #รับผลิตเซรั่ม

📌 #รับผลิตโลชั่น

📌 #รับผลิตแชมพู

📌 #รับผลิตสบู่ #รับผลิตครีมอาบน้ำ

CR.http://www.centrafoods.com/blog/the-4-variations-of-an-organic-food-seal

ดู 4,143 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page